นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

พูดคุยเรื่องต้องกระจกในสัตว์เลี้ยง

สุนัข ,โรคและการรักษา ,โรคที่พบบ่อยในสัตว์เลี้ยง 6 ธันวาคม 2565 4,305 ครั้ง

 “โรคต้อกระจกในสัตว์เลี้ยง” เป็นภาวะที่ใช้เรียกเลนส์ตา (แก้วตา) ที่มีความขุ่น ซึ่งมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นหรือสีเหลืองผิดไปจากธรรมชาติไม่ว่าจะอยู่ที่ตำแหน่งไหนหรือเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม และโรคต้อกระจกนั้นสามารถเกิดขึ้นได้กับสัตส์เลี้ยงทุกสายพันธุ์
.
วันนี้เราเลยจะชวนทุกคนมาพูดคุยเรื่องต้อกระจกกับ คุณหมอเอ็ม น.สพ.พรศม จากคลินิกโรคตา โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อกันค่ะ
.
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สามารถตรวจคัดกรองโรคต้อกระจกได้ในทุกระยะและสามารถผ่าตัดสลายต้อกระจก หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนมีความกังวลใจหรือพบความผิดปกติของดวงตาน้องหมาน้องแมวอย่ารอช้าจนเกิดปัญหาเรื้อรัง


เทคนิคการผ่าตัดโดยการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( phacoemulsification )

ก่อนที่เราจะเริ่มพูดคุยเรื่องต้อกระจกในสัตว์เลี้ยงกันเราขอ
พาทุกคนมาทำความรู้จักกับคุณหมอที่จะมาแชร์เรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับ “โรคต้อกระจก” กันก่อนค่ะ
น.สพ. พรศม ชำนาญกิจ หรือว่า คุณหมอเอ็ม สัตวแพทย์ประจำคลินิกตา โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ คุณหมอเอ็มจบการศึกษาปริญญาตรี คณะสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซึ่งปัจจุบันคุณหมอเอ็มดำรงตำเเหน่งหัวหน้าทีมสัตวแพทย์ สาขาพระราม 9 และยังเป็นสัตวแพทย์ประจำคลินิกตา โดยออกตรวจที่ โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ ทั้ง 4 สาขา
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขา พระราม 9 ,โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขา สิรินธร-ปิ่นเกล้า, โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขา รามอินทรา,โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ สาขา ประดิษฐ์มนูธรรม

สุนัขมีปัญหาเลนส์ขุ่นขาวสามารถแบ่งได้ 2 ชนิดคือ


1. Nuclear sclerosis

ส่วนมากจะพบในสุนัขอายุ 7 ปีขึ้นไป เกิดจากการที่เลนส์มีการสร้างเนื้อเลนส์ใหม่ในทุกๆวัน และตัวเนื้อเลนส์เก่าจึงถูกอัดแน่นบริเวณใจกลางของเลนส์แน่นขึ้น จึงทำให้ดวงตามีสีขุ่นมากขึ้น
แต่ยังสามารถมองเห็นได้ตามปกติ

2. Cataract (ต้อกระจก)

สำหรับต้อกระจกนั้นสามารถพบได้ทุกช่วงอายุ เพราะต้อกระจกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น


• ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด
• อุบัติเหตุ
• โรค เบาหวาน
• ภาวะจอประสาทตาเสื่อม กระตุ้นทำให้เป็นต้อกระจ
• กรรมพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ Maltese, Schnauzer, Poodle และ Pomeranian


ซึ่งระยะของต้อกระจกสามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ระยะ ตามระดับความขุ่นของเลนส์
• Incipient cataract
• Immature cataract
• Mature cataract
• Hypermature cataract

โดยภาวะแทรกซ้อนของต้อกระจกถ้าหากไม่รีบทำการรักษา อาจทำให้เกิดอาการอักเสบในช่องหน้าม่านตา ต้อหิน (ความดันตาขึ้นสูง) และ เลนส์ตาเคลื่อนได้

ในบางรายที่สัตว์เลี้ยงเป็นโรคต้อกระจกคุณหมอมักจะแนะนำให้ทำการผ่าตัดเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาได้ ซึ่งขั้นตอนการผ่าตัดต้อกระจกมีดังนี้
  • ทำนัดตรวจตาเบื้องต้นเพื่อพิจารณาและวินิฉัยว่าภาวะต้อกระจกของน้องๆอยู่ในระยะไห
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าจอประสาทตา Electroretinography (ERG) เพื่อประเมินการมองเห็น
  • อัลตราซาวน์ตา เพื่อตรวจโครงสร้างภายในลูกตา เเละประเมินขนาดของเลนส์เทียม (Intraocular lenses IOL) ที่จะใช้ในการผ่าตัด
  • ตรวจความพร้อมของร่างกายน้องๆเพื่อประเมินความเสี่ยงในการดมยาสลบโดยตรวจเลือดและ ตรวจหัวใจ

ซึ่งวิธีการผ่าตัดต้อกระจกเป็นวิธีที่ให้ผลดีที่สุด การผ่าตัดเพื่อนำเอาเลนส์ตาที่เป็นต้อกระจกออกแล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไป ซึ่งในปัจจุบันนี้มีการนำเทคนิคการผ่าตัดโดยการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ( phacoemulsification ) เป็นเทคนิคเดียวกับการรักษาต้อกระจกในคน
เรื่องเล่าความประทับใจเกี่ยวกับน้องหมาที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจกกับ คุณหมอเอ็ม น้องเบลล่า เป็นสุนัขที่ครอบครัวแจ็คสันคู่สามีภรรยาชาวต่างชาติรับเลี้ยง ครอบครัวแจ็คสันกล่าวว่า เบลล่าไม่สามารถมองเห็นได้ตั้งแต่ที่เค้าเจอประมาน 2 ปีมาแล้ว ระหว่างนั้นที่เรารับเบลล่ามาใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน เราต้องคอยทำเสียงส่งเป็นสัญญาณเพื่อให้เบลล่ารู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ เราจึงตัดสินใจขับรถมาไกลจากนครศรีธรรมราช เพื่อมาโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อด้วยความหวังที่เบลล่าจะกลับมาเห็นได้อีกครั้ง
.
และความมหัศจรรรย์ก็เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อเบลล่ากลับมามองเห็นหลังจากอยู่ในความมืดมาตลอด 2 ปี เราสองคนเห็นความมั่นใจในตัวเบลล่ามากขึ้นหลังจากที่เค้ามองเห็น เราสองคนรู้สึกประทับใจต่อคุณหมอและโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อมากๆ และจะกลับมาที่นี่อีกทุกๆปีเพื่อพาเบลล่ามาตรวจสุขภาพ



Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor