นัดหมาย ค้นหาแพทย์ ติดต่อเรา

เคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีทำให้แมวเข้ากันได้

แมว 26 มกราคม 2566 201,255 ครั้ง

เคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีทำให้แมวเข้ากันได้

   หนึ่งในความกังวลที่ทำให้ทาสแมวปวดหัวและปวดใจก็คือการที่เจ้านายตัวเก่าที่บ้านมักจะขู่เมื่อพบกับแมวตัวอื่นอยู่ตลอดเวลา ยิ่งถ้าทาสแมวกำลังจะรับแมวใหม่เข้าบ้าน ยิ่งต้องคิดหนักเลยทีเดียวว่าจะเอาแมวใหม่เข้าบ้านมาอย่างไรให้เจ้านายตัวเก่าไม่เกิดอาการขู่จนขนพอง วันนี้ Thonglor Pet Hospital มีเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีทำให้แมวเข้ากันได้มาให้เหล่าทาสแมวได้รู้กันว่ามีอะไรบ้าง รับประกันเลยว่าถ้าหากทำตามแล้วแมว 2 ตัว (หรือมากกว่า) จะเข้ากันได้ในไม่ช้า ไม่ตีกันจนบ้านพังแน่นอน

ก่อนนำแมวใหม่เข้าบ้าน ต้องพาไปตรวจโรคและตรวจร่างกายก่อน

          โดยปกติแล้วถ้ารับแมวมาจากฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงแมวที่ได้มาตรฐาน ก็จะมีการตรวจสุขภาพ รวมถึงน้องแมวมักจะได้รับวัคซีนแมวเบื้องต้นมาแล้ว หากเป็นแบบนั้น ทาสแมวทั้งหลายก็ไม่ต้องวุ่นวายพาน้อง ๆ ไปตรวจสุขภาพซ้ำอีกครั้ง แต่ถ้าหากเป็นน้องแมวจร หรือรับเลี้ยงมาจากสถานที่ที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพและให้วัคซีนมาก่อนนั้น จะต้องนำน้องแมวตัวใหม่ไปพบกับสัตวแพทย์ก่อน เพื่อทำการตรวจร่างกาย ตรวจโรค รวมถึงรับวัคซีนแมวเบื้องต้น (หากสามารถรับวัคซีนได้แล้ว) ขั้นตอนแรกนี้จะช่วยทำให้มั่นใจได้ว่าน้องแมวตัวใหม่จะไม่นำโรคติดต่อหรือเชื้อโรคอื่น ๆ เข้ามาติดต่อกับเจ้านายตัวเก่าที่บ้านนั่นเอง

นำน้องแมวตัวใหม่เข้าบ้านโดยต้องอยู่ในกรงตลอดเวลาก่อน

          แค่เจอแมวขาจรที่เดินผ่านหน้าบ้าน เจ้านายตัวเก่ายังขู่จนขนพอง ดังนั้นการพาน้องแมวตัวใหม่เข้ามาในบ้านจึงควรนำใส่กรงไว้ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกันระหว่างแมว 2 ตัว อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับน้องแมวตัวใหม่ด้วย ในกรณีที่ไม่ได้ใส่กรงไว้แล้วน้องเกิดอาการตกใจจนวิ่งเตลิดหนีหายไปซ่อนตามซอกมุมต่าง ๆ ในบ้าน ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้นจึงควรนำน้องแมวใส่กรงไว้ตลอด และควรใช้ผ้าบาง ๆ คลุมเอาไว้ เพื่อให้น้องแมวไม่รู้สึกเครียดหรือตื่นกลัวจนเกินไปจากการพบแมวเจ้าถิ่น และการเปลี่ยนที่อยู่

เมื่อแมวเก่าเริ่มคุ้นชินกลิ่นและแมวใหม่เริ่มคุ้นชินพื้นที่ จึงปล่อยให้เจอกัน

          ระหว่างที่แมวตัวใหม่อยู่ในกรงนั้น ทาสแมวอาจจะต้องกั้นพื้นที่บางส่วนในบ้านเพื่อยกให้เป็นพื้นที่ของแมวใหม่ไปเลย หรือไม่ก็มีห้องสำหรับน้องแมวตัวใหม่โดยเฉพาะ ซึ่งควรปล่อยน้องแมวออกมาเดินเล่นและทำความคุ้นเคยกันพื้นที่เป็นระยะ ๆ และพยายามพาเจ้านายตัวเก่าเข้าไปยังพื้นที่นั้นบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดการคุ้นชินกลิ่นของกันและกัน แต่สิ่งสำคัญคือหากยังมีอาการขู่กันอยู่ จะต้องให้แมวตัวใหม่อยู่ในกรงตลอดเมื่อแมวตัวเก่าเข้ามาในพื้นที่ เมื่อเวลาผ่านไปและเริ่มขู่กันน้อยลง หรือเลิกขู่กันแล้ว จึงค่อยปล่อยแมวใหม่ออกมาเจอกับแมวเก่าโดยตรง ขั้นตอนนี้อาจจะใช้เวลาตั้งแต่ 3 วันไปจนถึง 2 สัปดาห์หรือมากกว่านั้น เรียกว่าเป็นหนึ่งในขั้นตอนของวิธีทำให้แมวเข้ากันได้ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาสักหน่อย แต่ได้ผลและปลอดภัยอย่างแน่นอน

คอยสังเกตการณ์ตลอด หากเริ่มขู่หรือตีกันให้จับแยกกันก่อน

          หลังจากปล่อยให้แมว 2 ตัวได้เจอกันแบบที่ไม่มีกรงกั้นแล้ว ทาสแมวจะต้องคอยสังเกตการณ์อยู่ใกล้ ๆ ตลอด เพราะยังมีโอกาสที่แมว 2 ตัวจะขู่กันและตีกันได้ ถ้าเจ้าของแมวเห็นว่าแมว 2 ตัวนั้นมีอาการขู่กันและเริ่มตีกัน จะต้องจับแยกออกมาคนละมุม ก่อนจะปล่อยให้เดินมาใกล้ ๆ กันอีกครั้ง หากไม่มีทีท่าว่าจะเลิกตบกัน ก็ให้กลับไปใช้วิธีทำให้แมวเข้ากันได้อย่างที่กล่าวเอาไว้ก่อนหน้าอีกครั้งจนกว่าจะเริ่มชินกลิ่นกัน. หากทำตามวิธีทำให้แมวเข้ากันได้เหล่านี้แล้ว รับรองเลยว่าน้องแมวทั้ง 2 ตัวจะเข้ากันได้เป็นอย่างดีในที่สุดอย่างแน่นอน อาจจะใช้เวลามากน้อยแตกต่างกันไปตามธรรมชาติของน้องแมวแต่ละตัว ดังนั้นสิ่งที่เจ้าของแมวจะต้องเข้าใจก็คือเรื่องของธรรมชาติของสัตว์ แมวเป็นสัตว์ที่หวงถิ่นของตนเอง เมื่อมีตัวใหม่เข้ามา จึงต้องทำการปกป้องพื้นที่ของตนเองเอาไว้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยเวลาสักนิดจนกว่าแมวจะเข้าใจว่าตอนนี้มีสมาชิกใหม่เข้ามาเพิ่มเติมแล้ว และต้องแชร์พื้นที่ให้แก่กันนั่นเอง

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor


หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดูแลสัตว์เลี้ยง สนใจบริการ อาบน้ำตัดขน ว่ายน้ำ สั่งซื้อสินค้าสัตว์เลี้ยงออนไลน์ สามารถสอบถามได้ที่


#ThonglorPetHospital #TheBestAlways

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor

Powered by Froala Editor